หน่วยงานตรวจสอบภายใน
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
คณะกรรมการบริษัทได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน และจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล
หัวหน้างานตรวจสอบภายใน
1. ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจสอบภายใน : นายโฆษิต เทพเฉลิม (1 มกราคม 2565)
2. คณะกรรมการตรวจสอบ มีการดูแลให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานตรวจสอบภายในมีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และการอบรม ที่เหมาะสมเพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
3. การแต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย เลิกจ้าง และพิจารณาความดีความชอบ หัวหน้างานตรวจสอบภายใน ฝ่ายจัดการจะพิจารณาความเหมาะสม แล้วเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ
หน้าที่ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
1. เสนอแผนงานตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อขอความเห็นชอบ
2. การปฎิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน จะต้องมีผู้คอยดูแลและควบคุมการปฏิบัติงาน ดังนั้นการสั่งการ การออกคำสั่ง ให้ฝ่ายตรวจสอบไปปฎิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและควบคุมของฝ่ายจัดการ หรือกรรมการผู้อำนวยการ โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้ให้หลักประกันในความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน
3. ติดตามและทราบถึงนโยบายความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการควบคุมของบริษัทฯ และรายงานคณะกรรมการตรวจสอบถึงระดับความเสี่ยงที่สำคัญ ตลอดจนวิธีบรรเทาความเสี่ยงให้ลดน้อยลง
4. สอบทาน ปรึกษาหารือ พิจารณาขอบเขตแผนการตรวจสอบ ให้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ ที่จะตรวจสอบร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชี
5. รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาในเรื่องความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน
6. รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยเร็วที่สุด ในเรื่องดังต่อไปนี้
- – การทุจริตและข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบในระหว่างปี
- – ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นในระหว่างตรวจสอบ ซึ่งอาจจะรวมถึงขอบเขตการปฏิบัติงานหรืออุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น สำหรับการตรวจสอบ
7. สรุปรายงานผลการตรวจสอบภายใน หรือเรื่องที่เห็นสมควร เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบทราบ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดไตรมาส
8. รายงานผลการตรวจสอบที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขทันทีให้ฝ่ายจัดการ เพื่อที่ฝ่ายจัดการจะได้ออกคำสั่งแก้ไขได้ทันกับเหตุการณ์